วิธีการใช้เครื่องดูดซีลสูญญากาศเพื่อทำซูวีอย่างมือโปร
สำหรับคนที่มีเครื่องซูวีอยู่แล้ว และอยากจะเพิ่มความสามารถในการทำซูวีให้สะดวกขึ้นโดยกำลังหาซื้อเครื่องซีลดูดแพ็คสูญญากาศอยู่ วันนี้ เราก็เลยอยากแนะนำว่า ถ้าหากว่า คุณจะทำการซูวีโดยการแพ็คกับเครื่องซีลสุญญากาศพวกนี้ คุณควรจะต้องรู้อะไรบ้างเพื่อให้การทำอาหารด้วยเครื่องซูวีของคุณออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด
คุณรู้หรือเปล่าจริงๆแล้วการทำซูวีไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องซีลแพ็คสุญญากาศก็ได้
ก่อนหน้านี้เราเคยพิมพ์เนื้อหาและวิธีการต่างๆสำหรับคนที่ไม่อยากจะเสียเงินซื้อเครื่องดูดอากาศสักเท่าไหร่เพื่อประหยัดงบ หรืออยากจะทดสอบเฉพาะการทำซูวีด้วยเครื่องซูวีเสียก่อน ก่อนที่จะลงทุนอุปกรณ์อื่นๆเพื่อให้การทำซูวีมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพื่อทำให้ตัวเองสะดวกมากขึ้นในการทำซูวี ลองเข้าไปอ่านบทความ วิธีการทำถุงซูวีให้เป็นสุญญากาศแบบไม่ต้องใช้เครื่องซีลสุญญากาศได้จากที่นี่ แต่ ถ้าหากว่าคุณมั่นใจแล้วว่า คุณอยากจะทำการซูวีด้วยเครื่องซูวีที่เป็นมืออาชีพขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งและ คุณกำลังมองหาเครื่องซีลสุญญากาศแล้วล่ะก็อ่านต่อบทความนี้กันได้เลย
ประเภทของเครื่องซีลสุญญากาศ
จริงๆแล้วเครื่องซีลสุญญากาศในประเทศไทยเรามีจำหน่ายกันทั้งหมดอยู่ด้วยกัน 2 แบบที่เห็นกับทั่วไป คือ เป็น vacuum chamber และแบบ external Vacuum Sealer โดยถ้าหากว่าคุณกำลังจะก้าวข้ามความเป็นมืออาชีพในการซูวีทอาหาร เราแนะนำคุณอาจจะเริ่มต้นที่เครื่อง external vacuum sealer เสียก่อนซึ่งมันก็คือ เครื่องซีลแพ็คสูญญากาศที่มีจำหน่ายกันในท้องตลาดทั่วไปกันก่อนได้เลย เพราะ ราคาจะมีความประหยัดกว่าแบบที่เป็น Vacuum Chamber มาก โดยช่วงราคามีตั้งแต่ 500 – 4000 บาทแล้วแต่สเป็กของสินค้า ความแรงของการดูด และขนาดของเครื่อง
หากคุณเลือกที่ใช้ใช้ External Vacuum Sealer (เครื่องแพ็คซีลสุญญากาศแบบภายนอก) มันมีเรื่องที่คุณอาจจะต้องรู้ดังต่อไปนี้
มันจะเหมาะกับอาหารแห้งเป็นทีสุด เพราะ ถ้าหากว่าเป็นอาหารแห้งแล้ว เราจะไม่ต้องกังวลอะไรมากว่า น้ำมันจะไหลเข้าเครื่องระหว่างที่เราทำการซีลถุงหรือเปล่า หรือ ระหว่างที่กำลังดูดอากาศออกนั้น มันจะมีน้ำไหลเข้าเครื่องซีลสุญญากาศเราหรือไม่อย่างไร เรียกได้ว่า การแพ็คซีลอาหารแห้งๆนั้นถือได้ว่าทำได้กับเครื่องซีลสุญญากาศแบบไร้ความกังวลกันเลยทีเดียว แต่ มันไม่ได้หมายความว่าของที่มีความชื้นแฉะจะไม่สามารถใช้ได้เลย แต่ถ้าหากว่าคุณจะใชักับอาหารที่มีน้ำ หรือ มีซอสหมักอะไรนิดๆหน่อยๆ เราสามารถทำได้เช่นเดียวกันโดยอาจจะต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าเครื่องแพ็คซีลสุญญากาศเอาไว้ก่อนน่าจะเป็นการดี
สำหรับการใช้ External Vacuum Sealer นั้นไม่ว่าจะเป็นเครื่องรุ่นใดก็ตาม คนใช้งานเครื่องต้องพยายามป้องกันความเสี่ยงความเสียหายต่อตัวเครื่องโดยการหลีกเลี่ยงที่เครื่องจะดูดน้ำเข้าไปในระบบ compressor (ระบบตัวดูดอากาศ) เพราะ น้ำที่ว่านี้ ส่วนมากแล้วจะเป็นน้ำหมักอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซอส หรือ น้ำมันมะกอก ที่เอาไว้หมักเนื้อสัตว์ เป็นต้น เครื่องดูดสุญญากาศพวกนี้ไม่ได้พังโดยทันที หากมีซอสหมักพวกนี้เข้าไปในระบบการทำงานของมัน แต่ มันสามารถสะสมและ อาจจะทำให้ระบบมีปัญหาได้ในภายหลังเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งได้ ดังนั้นแล้ว หากคุณเข้าใจและหลีกเลี่ยงได้ก็ย่อมจะเป็นถนอมเครื่องให้ใช้งานได้นานขึ้นได้
แนะนำ : คุณควรเลือกเครื่อง Vacuum Sealer แบบที่มีท่อดูดที่อยู่เยื้องออกจากตรงกลางของช่องดูดอากาศเพื่อเป็นการลดโอกาสที่ของเหลวจะไหลเข้าช่องแล้วเข้าไปที่รูดูดอากาศได้ เพราะ ถ้าหากว่า รูดูดอากาศอยู่ด้านข้างเอาไว้ก่อน แม้ว่าระหว่างการดูดอากาศจะมีน้ำซอสไหลเข้าช่องบ้าง มันก็จะยังไม่ไหลเข้ารูดูดอากาศได้โดยง่าย
เทคนิคที่ 1 : การแช่แข็งอาหารที่หมักในถุงซิปล็อค
แน่นอนว่า มันไม่กฏอะไรหรอกว่า คุณจะต้องใช้ถุงเพียงชั้นเดียว คุณอาจจะใช้ถุงสองชั้นก็ไม่มีใครว่าและก็ไม่ได้ผิดกฏของการทำซูวีแต่อย่างใด เริ่มต้นโดยการเอาอาหารและซอสหมักใส่เข้าไปที่ถุงซิปล็อคปกติเสียก่อน โดยคุณไม่ต้องรีดอากาศออกให้หมดก็ได้แต่ต้องมั่นใจได้ว่าถุงซิปนั้นสามารถเก็บน้ำเอาไว้ได้ดี หรืออย่างน้อยน้ำหมักซอสต่างๆมันจะต้องไม่ไหลออกมาจากปากถุงได้ แล้วก็เอาทั้งถุงอย่างงั้นแหละไปเข้าช่อง Freeze อาหารทั้งหมดก่อนได้เลย แน่นอนว่า มันจะยังไม่ได้เป็นถุงไร้อากาศแต่มันจะทำให้ทั้งอาหารและน้ำหมักแข็งก่อน คือ มันเป็นการแปลงสภาพของของเหลวให้เป็นของแข็ง แล้วทีนี้คุณก็เอาทั้งก้อนอาหารนั้นออกมาเข้าถุงเพื่อ vacuum ต่อได้อีกต่อหนึ่ง หรือ ถ้าหากว่า คุณไม่เอามันออกมาก็เปิดปากถุงออกไล่อากาศแล้วก็จัดการเอาใส่ถุงเพื่อทำการ vacuum seal อีกรอบก็ทำได้เช่นเดียวกัน
จากวีดีโอที่แนบให้เห็นด้านบนนั้นเป็นการเอาเนื้อมะเขือเทศทำเป็นซุปแน่นอนว่ามันเป็นน้ำเกือบทั้งหมด มีเนื้อประมาณหนึ่งเท่านั้น เพราะมันได้รับการต้นเละแล้วมะเขือเทศนี้ไม่เหลือความเป็นก้อนหรือของแข็งอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ดี เขาได้เอาน้ำซุปมะเขือเทศที่ว่าเอาไปใส่ในภาชนะพลาสติกแล้วเอาไปแช่แข็งเอาไว้ ระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง มันก็จะแข็งเป็นก้อนทั้งหมด เมื่อได้ก้อนนี้แล้วเราเอาทั้งภาชนะใส่ถุงอีกครั้งหนึ่งแล้วก็ทำการกดปุ่มดูดอากาศออกด้วยการกดปุ่ม “vac/seal” เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเก็บซุปมะเขือเทศนี้ได้นานกว่าสา่มปีในช่องเย็นกันแล้ว เพราะ ไม่มีอากาศเหลือในถุงนี้อีกต่อไป
เทคนิคที่ 2 : ให้พับเอากระดาษอเนกประสงค์มาเป็นตัวซับน้ำก่อนที่จะไหลเข้าเครื่องดูดสุญญากาศ
วิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจจะยุ่งยากสักหน่อยแต่ก็เห็นผลได้ดีเช่นเดียวกัน คือ เราสามารถดคดความเสี่ยงของน้ำเข้าเครื่องดูดอากาศได้มากเลยเพราะ เมื่อน้ำโดนดูดอากาศ มันจะไหลผ่านกระดาษซับน้ำที่ว่านี้ก่อนแล้ว มันก็จะไม่เหลือน้ำมากพอที่จะไหลเข้าเครื่องดูดอากาศได้ ดังนั้นแล้ว วิธีการนี้ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ดีทีเดียว อย่างไรก็ดี เราแนะนำว่า คุณอาจจะใช้เทคนิคที่สองนี้ ร่วมกับเทคนิคทีสาม ที่่เป็นการควยคุมการทำงานของเครื่องด้วยตัวเองเพื่อทำให้คุณสามารถดูสภาพหน้างานระหว่างการทำสุญญากาศของอาหารได้ด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง (กรุณาอ่านเทคนิคที่สามด้วยเพื่อความเข้าใจที่สมบูรณ์)
หากว่าคุณได้ดีวีดีโอด้านบนนี้จะพบได้ว่า จริงๆแล้วใน คลิป จะเป็นการใช้ถุงประเภทที่มีกระดาษซับติดตั้งมาแล้วในถุงเลยซึ่งคุณจะไม่สามารถหาซื้ออะไรแบบนี้ได้ในประเทศไทยเราแน่นอน มันเป็นซองพิเศษมากจริงที่จำหน่ายในเฉพาะฝั่งสหรัฐอเมริกาเท่านั้น อย่างไรก็ดี คุณสามรถหากระดาษซับมาพับแล้ววางไว้ในตำแหน่งเดียวเพื่อที่คุณจะได้ใช้ฟังก์ชั่นการซับน้ำของเหลวของกระดาษเหมือนกับวีดีโอคลิปด้านบนทุกประการ
เทตนิคที่ 3 : ควบคุมด้วยตัวยตัวเองทุกขั้นตอนไม่ใช้ระบบอัตโนมัติ
ส่วนมากแล้วเครื่องที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติจะมีปุ่มคำว่า Vac/Seal อยู่ในปุ่มเดียวกัน เครื่องพวกนี้ เมื่อเรากดปุ่มนี้ มันจะทำงานต่อเนื่องเองอัตโนมัติ คือ มันจะเริ่มดูดอากาศก่อน แล้วเมื่อดูดอากาศด้วยระยะเวลาที่มีกำหนดหรือแรงดันถึงที่กำหนดเอาไว้แล้ว มันจะหยุดการดูดแล้วทำงานต่อด้วยการซีลความร้อนปิดปากถุงต่อไป แต่ สำหรับเนื้ออาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เป็นเนื้อหมักซอสจำนวนมาก เราจจะต้องควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะ มันไม่จำเป็นต้องดูดใช้เวลานานเหมือนกับที่เครื่องตั้งค่าเอาไว้ในระบบอัตโนมัติ ดังนั้นแล้ว วิธีการก็เหมือนกับวีดีโอคลิปด้านล่างนี้
หลักการคือ ให้เรากดดูดด้วยปุ่ม Vac/Seal แต่เมื่อเห็นว่าน้ำซอสมันไหลเข้าใกล้กับตัวเครื่องแล้วให้เรากดปุ่ม STOP เพื่อหยุดการดูดของเครื่อง เมื่อหยุดแล้ว เราเห็นว่าทุกอย่างโอเคแล้ว เราก็กด SEAL ต่ออีกครั้งเพื่อปิดปากถุง จะสังเกตได้ว่าการทำงานแบบนี้ ทั้งหมด เราเป็นคนควบคุมจังหวะ การทำงานของเครื่องซีลสุญญากาศทั้งหมดด้วยตนเอง กล่าวคือ เป็นการทำง่านแบบ Manual ได้นั่นเอง
ถ้าหากว่าคุณอ่านบทความนี้มาถึงที่นี่แล้วอาจจะรู้สึกได้ว่า เหมือนว่าการใช้งานเครื่องดูดสุญญากาศเป็นเรื่องยุ่งยากแต่แท้ที่จริงแล้ว เราอธิบายเอาไว้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องเสียหายได้ง่ายในระยะยาว จากประสบการณ์การใข้งานเครื่องแล้ว ส่วนมาก หากเราพบว่าน้ำไหลเข้าเครื่องมันก็จะยังไม่เข้าไปถึงรูดูดอากาศ เพราะ มันจะตกที่ช่องดูดกลางเครื่องเสียก่อนมากกว่าซึ่งเราแค่เอาฟองน้ำชุบน้ำแล้วเอามาเช็ดเพื่อทำความสะอาดเครื่องทีช่องที่ว่านี้ก็เพียงพอแล้ว แต่ เราอยากจะให้รู้ไว้เพื่อจะได้ป้องกันเครื่องไม่ให้เสียได้เร็วกว่าสภาพการใช้งานที่เหมาะสมเท่านั้น